ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หน่วยแรงดัน

ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (อังกฤษpound per square inch) หรือชื่อที่ถูกต้องกว่าคือ แรงปอนด์ต่อตารางนิ้ว (อังกฤษpound-force per square inch) สัญลักษณ์ psi (พีเอสไอ) หรือ lbf/sq in เป็นหน่วยวัดความดันซึ่งมีพื้นฐานจากระบบอังกฤษแบบอาวัวร์ดูปัว นิยมใช้ในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา หนึ่งปอนด์ต่อตารางนิ้วคือความดันซึ่งเป็นผลจากแรงหนึ่งแรงปอนด์กระทำต่อพื้นที่หนึ่งตารางนิ้ว

ความสัมพันธ์กับหน่วยวัดรูปแบบอื่น ๆ[แก้]

ในการใช้งานตัวย่อ มักมีการเติมตัวอักษรลงไปหลังสัญลักษณ์ "psi" เพื่อแสดงปริมาณที่ถูกวัด อย่างไรก็ตาม สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีสหรัฐอเมริกา (เอ็นไอเอสที) แนะนำว่า เพื่อเพื่อป้องกันความสับสน การเติมตัวอักษรให้เติมที่ปริมาณที่ถูกวัดแทนที่จะเป็นตัวหน่วยวัดเอง ตัวอย่างเช่น ให้ใช้ "Pg = 100 psi" แทน "P = 100 psig"
  • psia (pounds-force per square inch absolute) - ความดันสัมบูรณ์ คือความดันเกจรวมกับความดันบรรยากาศรอบบริเวณนั้น ให้ใช้ "Pa = x psi" แทน "x psia"
  • psid (psi different) - ผลต่างความดัน ให้ใช้ "ΔP = x psi" แทน "x psid"
  • psig (pounds-force per square inch guage) - ความดันเกจ ให้ใช้ "Pg = x psi" แทน "x psig"
  • psivg (psi vented guage) - ผลต่างความดันระหว่างจุดที่วัดกับความดันรอบบริเวณนั้น ให้ใช้ "Pvg = x psi" แทน "x psivg"
  • psisg (psi sealed guage) - ผลต่างความดันระหว่างห้องปิดผนึกที่ความดันบรรยากาศกับความดันที่จุดวัด ให้ใช้ "Psg = x psi" แทน "x psisg"

พีเอสไอจี[แก้]

พีเอสไอจี (psig) ย่อจาก pound[-force] per square inch gauge เป็นหน่วยวัดความดันเทียบกับความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเล ต่างจากพีเอสไอ (psi) ซึ่งวัดความดันเทียบกับสุญญากาศ (เช่นในอวกาศ) เกจวัดความดันส่วนใหญ่ เช่นเกจวัดลมยาง มักปรับตั้งให้อ่านได้ค่าเป็นศูนย์ที่ระดับน้ำทะเลเนื่องจากการใช้งานส่วนใหญ่ต้องการวัดผลต่างความดัน
ที่ระดับน้ำทะเล ความดันเนื่องจากบรรยากาศของโลกจะมีค่า 14.7 psi มนุษย์จะไม่รู้สึกถึงความดันนี้เพราะว่าระดับความดันของของเหลวในร่างกายมนุษย์นั้นเท่ากับความดันภายนอก ถ้าเกจวัดความดันปรับตั้งไว้ให้อ่านได้ค่าความดันเป็นศูนย์ในอวกาศ เมื่อนำมาวัดที่ระดับน้ำทะเลย่อมอ่านได้ค่าเป็น 14.7 psi ดังนั้น ถ้าวัดความดันเกจของล้อรถยนต์ได้ 30 psi แสดงว่าความดันสัมบูรณ์คือ 44.7 psi นั่นเอง
มักมีการใช้ psi อย่างผิด ๆ โดยใช้ psi เมื่อต้องการหมายถึง psig

เคเอสไอและเคไอพี[แก้]

เคเอสไอ (ksi) หรือ เคไอพี (kip) ย่อจาก kilo-pound[-force] per square inch มีค่าเท่ากับ 1000 psi เกิดจากการเติมคำอุปสรรค kilo ข้างหน้าตัวย่อ psi มักใช้ในการคำนวณทางวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมเครื่องกลเพื่อระบุค่าความเค้นและค่ามอดุลัสของยัง

ขนาด[แก้]

  • ความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเล : Pa = 14.7 psi
  • ความดันเกินขนาดสำหรับยางรถยนต์ : Pg = 32 psi
  • ความดันเกินขนาดสำหรับยางรถจักรยาน : Pg = 65 psi
  • ความดันเกินขนาดสำหรับเบรกอากาศ : 90 psi ≤ Pg ≤ 120 psi
  • ความดันเกินขนาดสำหรับถังประดาน้ำ : Pg = 3,000 psi

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Psychometric Chart

แผนภูมิไซโครเมตริก () เป็นแผนภูมิที่บอกถึงรายละเอียดของอากาศที่สภาวะต่าง ๆ เชื่อว่าหลายท่านที่ทำงานในสายงานเครื่องกล ทำความเข้าใจแผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart) อาจหาญ  ณ นรงค์ แผนกวิศวกรรมและซ่อมบำรุง บริษัท โยโกฮาม่า ไทร์  แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด     แผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart) เป็นแผนภูมิที่บอกถึงรายละเอียดของอากาศที่สภาวะต่าง ๆ เชื่อว่าหลายท่านที่ทำงานในสายงานเครื่องกล เช่น งานปรับอากาศและความเย็นคงจะรู้จักแผนภูมินี้ และการที่เราเข้าใจแผนภูมินี้จะทำให้เราเข้าใจถึงธรรมชาติและกระบวนการการเปลี่ยนแปลงของสภาวะของอากาศตลอดจนสามารถนำมาใช้งานและวิเคราะห์แก้ใขปัญหาในงานที่เกี่ยวข้องได้มากยิ่งขึ้น                          รูปที่ 1  แผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart) ความสำคัญของอากาศและการใช้งาน     เชื่อว่าทุกคนคงจะรู้จักอากาศ (Air) กันเป็นอย่างดี อากาศมีอยู่ทุก ๆ ที่เราทุกคนใช้อากาศในการหายใจ อากาศเป็นตัวช่วยในการติดไฟของเชื้อเพลิงในการหุงต้มหรือในเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรต่าง ๆ ในงานด้านวิศวกรรมและการผลิต อากาศถูกนำมาใช้ประโยชน์ในกระบวนก
                                  ความรู้เบื้องต้นเครื่องปรับอากาศ การเปลี่ยนสถานะของน้ำ        แม้ว่าองค์ประกอบส่วนใหญ่ของบรรยากาศจะเป็น ไนโตรเจน และออกซิเจน    แต่แก๊สทั้งสองชนิดไม่ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ    เนื่องจากมีจุดหลอมเหลว และจุดเยือกแข็งต่ำมาก     อุณหภูมิของบรรยากาศและพื้นผิวโลกสูงเกินกว่าที่จะทำให้แก๊สทั้งสองชนิดเปลี่ยนสถานะได้     ยกตัวอย่าง  หากจะทำให้แก๊สไนโตรเจนในอากาศเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว   อุณหภูมิอากาศจะต้องลดต่ำลงถึง  -196°C    ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากโลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากเกินไป   ในทางตรงข้ามแม้บรรยากาศจะมีไอน้ำอยู่เพียงเล็กน้อย ประมาณ  0.1 - 4%  แต่ก็มีอิทธิพลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้อย่างรุนแรง   เป็นเพราะว่าน้ำในอากาศสามารถเปลี่ยนสถานะกลับไปกลับมาได้ทั้งสามสถานะ   เนื่องจากอุณหภูมิ   ณ   จุดหลอมเหลว และจุดเยือกแข็งของน้ำ ไม่แตกต่างกันมาก              ไอน้ำ (Vapor)   คือน้ำที่อยู่ในสถานะแก๊ส    ไอน้ำเป็นแก๊สที่ไม่มีสี   ไม่มีกลิ่น โปร่งใสมองไม่เห็น   น้ำในอากาศสามารถเปลี่ยนจากสถานะหนึ่งไปสู่อีกสถานะหนึ่งกลับไปกลับมาไ