ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

                                  ความรู้เบื้องต้นเครื่องปรับอากาศ

การเปลี่ยนสถานะของน้ำ

       แม้ว่าองค์ประกอบส่วนใหญ่ของบรรยากาศจะเป็นไนโตรเจนและออกซิเจน  แต่แก๊สทั้งสองชนิดไม่ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ  เนื่องจากมีจุดหลอมเหลวและจุดเยือกแข็งต่ำมาก   อุณหภูมิของบรรยากาศและพื้นผิวโลกสูงเกินกว่าที่จะทำให้แก๊สทั้งสองชนิดเปลี่ยนสถานะได้   ยกตัวอย่าง หากจะทำให้แก๊สไนโตรเจนในอากาศเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว อุณหภูมิอากาศจะต้องลดต่ำลงถึง -196°C   ซึ่งเป็นไปไม่ได้เนื่องจากโลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากเกินไป  ในทางตรงข้ามแม้บรรยากาศจะมีไอน้ำอยู่เพียงเล็กน้อย ประมาณ 0.1 - 4% แต่ก็มีอิทธิพลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้อย่างรุนแรง เป็นเพราะว่าน้ำในอากาศสามารถเปลี่ยนสถานะกลับไปกลับมาได้ทั้งสามสถานะ เนื่องจากอุณหภูมิ  จุดหลอมเหลวและจุดเยือกแข็งของน้ำไม่แตกต่างกันมาก    

        ไอน้ำ (Vapor) คือน้ำที่อยู่ในสถานะแก๊ส  ไอน้ำเป็นแก๊สที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น โปร่งใสมองไม่เห็น น้ำในอากาศสามารถเปลี่ยนจากสถานะหนึ่งไปสู่อีกสถานะหนึ่งกลับไปกลับมาได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาการถ่ายเทความร้อนและมวลสารจากสิ่งแวดล้อม  กลไกการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เรียกว่า "กระบวนแอเดียแบติก" (Adiabatic process) การเปลี่ยนสถานะของน้ำทำให้การดูดกลืนหรือการคายความร้อนซึ่งเรียกว่า “ความร้อนแฝง” (Latent heat) ดังที่แสดงในภาพที่ 1   ความร้อนแฝงมีหน่วยวัดเป็นแคลอรี  1 แคลอรี เท่ากับปริมาณความร้อนซึ่งทำให้น้ำ 1 กรัม มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1°C    (ดังนั้นหากเราเพิ่มความร้อน 10 แคลอรี ให้กับน้ำ 1 กรัม น้ำจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 10°C)




ภาพที่ 1 พลังงานที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของน้ำ

  • การหลอมเหลว (Melting) คือ การที่น้ำเปลี่ยนสถาะนะจากของแข็งเป็นของเหลว  เมื่อเพิ่มพลังงานความร้อนให้แก้วซึ่งบรรจุน้ำแข็ง น้ำแข็งจะดูดกลืนความร้อนนี้ไว้ โดยยังคงรักษาอุณหภูมิ 0°C คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง จนกว่าน้ำแข็งจะละลายหมดก้อน ความร้อนที่ถูกดูดกลืนเข้าไปจะทำลายพันธะไฮโดรเจนในโครงสร้างผลึกน้ำแข็ง  ทำให้น้ำแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว โดยมีอัตราการดูดกลืนความร้อนแฝง 80 แคลอรี/กรัม
  • การแข็งตัว (Fleezing) คือ การที่น้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ซึ่งน้ำจำเป็นต้องถ่ายเทพลังงานภายในออกมาในรูปของการคายความร้อนแฝง 80 แคลอรี/กรัม เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนของโมเลกุล เพื่อให้พันธะไฮโดรเจนสามารถยึดเหนี่ยวโมเลกุลให้จับตัวกันเป็นโครงสร้างผลึก
  • การระเหย (Evaporation) คือ การที่น้ำเปลี่ยนจากสถานะของเหลวเป็นแก๊ส เมื่อเพิ่มพลังงานความร้อนให้แก้วซึ่งบรรจุน้ำ น้ำจะดูดกลืนความร้อนนี้ไว้ โดยยังคงรักษาอุณหภูมิ 100°C คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง จนกว่าน้ำจะระเหยกลายเป็นไอน้ำหมดแก้ว โดยใช้อัตราการดูดกลืนความร้อนแฝง 600 แคลอรี/กรัม
  • การควบแน่น (Condensation) คือ การที่น้ำเปลี่ยนจากสถานะแก๊สเป็นของเหลว ซึ่งน้ำจำเป็นต้องถ่ายเทพลังงานภายในออกมาในรูปของการคายความร้อนแฝง 600 แคลอรี/กรัม เพื่อลดแรงดันของระหว่างโมเลกุล
  • การระเหิด (Sublimation) คือ การที่น้ำเปลี่ยนจากสถานะจากของแข็งเป็นแก๊สโดยตรง ซึ่งต้องการดูดกลืนความร้อนแฝง 680 แคลอรี/กรัม
  • การระเหิดกลับ (Deposition) คือ การที่น้ำเปลี่ยนจากสถานะแก๊สเป็นของแข็ง ซึ่งน้ำจำเป็นต้องถ่ายเทพลังงานภายในออกมาในรูปของการคายความร้อนแฝง 680 แคลอรี/กรัม

ภาพที่ 2 กราฟแสดงความร้อนแฝงที่ใช้เปลี่ยนสถานะของน้ำ
ก = สถานะของแข็ง, ข = หลอมละลาย, ค = สถานะของเหลว, ง = การระเหย

        อย่างไรก็ตามในการระเหยและควบแน่นของน้ำในธรรมชาตินั้น ไม่จำเป็นต้องรอให้อุณหภูมิสูง 100°C  การระเหยและควบแน่นของน้ำ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ความกดอากาศ พลังงานแสงอาทิตย์ และกระแสลม เป็นต้น 



ที่มาhttp://www.lesa.biz/earth/atmosphere/state-of-water




หน่วยวัดและมาตรวัดอุณหภูมิ (Temperature Unit and Temperature Scales)

       อุณหภูมิเป็นหน่อยมูลฐานที่สำคัญที่สุดค่าหนึ่งในอุตสาหกรรม หน่วยของอุณหภูมิที่สำคัญมีอยู่ 3 หน่วย คือ เซลเซียส (Celcius) เคลวิน (Kelvin) และฟาเรนไฮต์(Fahrenheit) 
     เซลเซียส เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิที่ตั้งตามชื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน Anders Celcius (1701-1744) โดยเซลเซียส พบว่า ณ ความดันบรรยากาศน้ำบริสุทธิ์จะมีจุดทางอุณหภูมิอยู่ 2 จุดคือ จุดเยือกแข็งและจุดน้ำเดือด เขาจึงกำหนดจุด 0 องศาที่จุดเยือกแข็งของน้ำและ 100 องศาที่จุดเดือดของน้ำ
     ฟาเรนไฮต์ เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิซึ่งตั้งตามชื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวดัทซ์ Daniel Grabreil Fahrenheit(1686-1736) โดยฟาเรนไฮต์ ได้พยายามหาจุดต่ำสุดของอุณหภูมิโดยทดลองกับสารต่าง ๆ หลายชนิด และพบว่าจุดเยือกแข็งของแอมดมเนียมคลอไรด์ เป็นจุดต่ำสุดที่เค้าทดลองได้ จึงกำหนดจุดนี้เป็นจุด 0 องศา ส่วนจุดบนสเกลนั้น เขาพบว่าอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์เป็นจุดที่อุณหภูมิคงที่จึงกำหนดจุดนี้เป็น 96 องศา สาเหตุที่ไม่กำหนดจุดบนสเกลเป็น 100 องศา เพราะต้องการให้มีค่าเป็นสัดส่วนทวีคูณของ 12 ตามหน่วยอื่นๆที่นิยมสมัยนั้น
      ทั้งหน่วยองศาฟาเรนไฮต์และเซลเซียสเป็นการวัดอุณหภูมิที่ได้จากการหาสภาวะคงที่ทางอุณหภูมิของสาร ณ จุดต่างๆ ซึ่งอยู่ในย่านบรรยากาศของพื้นโลกและแบ่งสเกลให้เป็นไปตามความสะดวกเหมาะสมมิได้มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัวอะไร ต่อมานักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษลอร์ดเคลวินเป็นผู้คิดค้นหน่วยของอุณหภูมิทางวิทยาศาสตร์ขึ้นในปี 1851 เรียกว่ามาตราเคลวิน โดยกำหนดจุดอุณหภูมิสมบูรณ์ (Zero Absolute Temperature) ขึ้น ณ จุดที่เป็น ideal นี้ อิเล็กตรอนของสารต่าง ๆ จะหยุดโคจรรอบนิวเคลียสโดยไม่มีพลังงานความร้อนหลงเหลืออยู่ในสารนั้น ๆ อีกต่อไป ในทางปฏิบัติไม่สามารถทำให้เย็นตัวถึงจุดนั้นได้ (กำหนดได้จากการคำนวณ) และแบ่งช่วงของมาตรเซลเซียส ระบบหน่วยสากล (The Systems International d' Unites) ซึ่งเรียกย่อว่า SI ได้กำหนดหน่วยสากลของอุณหภูมิเทอร์โมไดนามิกเป็นมาตรเคลวิลและหน่วยอุณหภูมิทั่วๆไปเป็นเซลเซียส 

รูปเปรียบเทียบอุณหภูมิทั้ง 3 มาตร 
            จุดศูนย์สัมบูรณ์         =      -273.15℃    =     -459.67 °F   =  0 K
            จุดเยือกแข็งของน้ำ   =           0 ℃        =           32 °F      =  273.15 K
            จุดเดือดของน้ำ         =         100 ℃      =          212 °F     =  373.15 K

สูตรการแปลงค่าอุณหภูมิ

ที่มาhttps://www.pballtechno.com/article/15/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4-temperature-unit-and-temperature-scales







วันนี้ผมเอาค่าหน่วยวัด Pressure Gauge มาให้ดูกันนะครับ สำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับหน่วยวัดต่างๆ

1 Psi = 6.89476 kPa
1 kPa = 0.010197 ksc
100 kPa = 1 bar
1 Bar = 10 m.
1 inch = 25.4mm
1 pound = 1/2.204 kg
1 kg = 9.806 N
1 bar = 100000 N/m2
0.98 kg/cm2 = 1 Bar
1 bar = 100,000 Pa = 100 kPa = 0.1 MPa.
1 bar = 100 kPa (kilopascals) = 1,000,000 dynes per square centimeter (baryes) = 0.987 atm (atmospheres)
atmosphere, which now is defined to be 1.01325 bar exactly
1 dbar = 0.1 bar = 10 kPa = 100,000 dyn/cm2
1 cbar = 0.01 bar = 1 kPa
1 mbar = 0.001 bar = 0.1 kPa = 1 hPa (hectopascal) = 1,000 dyn/cm2

14.51 ปอนด์ หรือ Psi  จะมีค่าเท่ากับ 1 บาร์ หรือ Bar ทั้ง2ค่าเป็นหน่วยวัดแรงดัน ในระบบสากล SI
ส่วนปอนด์ที่บอกน้ำหนักมวลนั้น เป็นหน่วยของอังกฤษที่มีค่า 2.2 ปอนด์เท่ากับ 1 กก.ในระบบ SI
ส่วน 1 บาร์ที่เท่ากับ 10 เมตร-น้ำ นั้นคือหน่วยบอกแรงดันน้ำ ของปั้มน้ำที่สามารถส่งแรงดันน้ำได้ที่ความสูง
ขนาดต่างๆกัน หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือระดับความสูงของถังเก็บน้ำบนที่สูงลงมาถึงพื้น 10 เมตรจะได้แรงดันน้ำ
เท่ากับ 1 Bar หรือ เท่ากับ 100 Kpa เรียกลักษณะการไหลตามแรงโน้มถ่วง แบบ กราวิตี้



 เพิ่มเติม ตารางเทียบ แรงดัน ที่นิยม



 1. ชนิดของเกจ
1.1 เพรชเชอร์เกจ Pressure Gauge ค่าจะเริ่มต้นทางซ้ายที่ 0 และ ไล่ตามแรงดันไปทางขวา
1.2 คอมปาวเกจ Compound Gauge ค่า 0 จะอยู่ระหว่างหน้าปัด โดยทางซ้ายสุด จะวัดค่าสุญญากาศ Vacuum ส่วนขวาสุด จะวัดแรงดัน
1.3 แว็คคั่มเกจ Vacuum Gauge ค่า 0 จะอยู่ทางขวาสุด และ ไล่ย้อนทวนเข็มนาฬิกา เพื่อวัดค่าแรงดูด Vacume




 2. ลักษณะ รูปทรง มีปีก / ไม่มีปีก (Rimless) และ การต่อของเกลียว เช่น เกลียวลงล่าง Bottom Connect / เกลียวออกหลัง กลาง Center Back / เกลียวออกหลังริมล่าง Lower Back



หวังว่าจะช่วยให้ผู้ใช้งาน Pressure Gauge หรือ เกจวัดแรงดัน ได้เข้าใจเกี่ยวกับการอ่านค่าเปรียบเทียบมาตรฐานของการใช้งาน Pressure Gauge ได้ไม่มากก็น้อยนะครับ ไว้พบกันใหม่ สำหรับบทความดีๆแบบนี้ที่เราจะเอามาเสนอในตอนต่อไปครับ

ที่มาhttp://thaimeasuringtools.blogspot.com/2014/02/pressure-gauge.html

BTU (British Thermal Unit) / หน่วยความร้อนระบบอังกฤษ (บีทียู)

คือ หน่วยมาตรฐานของการวัดค่าพลังงานความร้อนในระบบอังกฤษ โดย 1 บีทียู (BTU) เท่ากับ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์ (pound) มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาฟาเรนไฮธ์ (°F)
ในการอธิบายค่าพลังงานในระบบทำความเย็น มักนิยมใช้หน่วย BTU มากกว่าจะใช้หน่วยมาตรฐานสากล (SI) ซึ่ง 1 Btu มีค่าเท่ากับ 1055 J
สำหรับในระบบปรับอากาศ ค่าบีทียูมักใช้บอกถึงความสามารถในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศหรือระบบทำความเย็นภายในเวลา 1 ชั่วโมง มีหน่วยบีทียูต่อชั่วโมง ( Btu/h ) ซึ่งเทียบเท่ากับหน่วยวัตต์ (Watt) ในระบบสากล เช่น เครื่องปรับอากาศขนาด 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง หมายความว่า เครื่องปรับอากาศนี้มีความสามารถในการดึงความร้อนออกจากห้องปรับอากาศจำนวน 12,000 บีทียู ภายในเวลา 1 ชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับหน่วยตันความเย็น (Ton of refrigeration) คือ 12,000 Btu/hr มีค่าเท่ากับ 1 ตันความเย็น



รูปแสดงค่าปริมาณพลังงานในหน่วยระบบมาตรฐาน (J) กับหน่วยระบบอังกฤษ (Btu)
ที่มาhttp://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/6114/btu-british-thermal-unit-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9-%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B9

2. ส่วนประกอบของตู้เย็นและวงจรน้ำยา






ส่วนประกอบหลัก ของตู้เย็น

  1. คอมเพรสเซอร์
  2. โอเวอร์โหลด ,ลีเลย์
  3. เทอร์โม
  4. ฮีสเตอร์หลอดแก้ว
  5. ไบเมนทอล
  6. ทามเมอร์
  7. ดีฟอส
  8. สวิทซ์



จุดประสงค์หลักของตู้เย็น

ตู้เย็นคือตู้ที่ให้ความเย็น  ซึ่งช่วยเก็บรักษาอาหารให้สดและใหม่อยู่เสมอ    เพราะความเย็นจะช่วยหยุดยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ที่ทำให้อาหารเกิดการบูดเน่าได้
       ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราวางนมไว้ในห้อง ที่อุณหภูมิปกติ   ประมาณ 2-3 ชั่วโมง จะเกิดกลิ่นบูดขึ้นแล้ว   แต่ถ้าเรานำไปใส่ไว้ในตู้เย็น   มันสามารถอยู่ได้ 2-3  อาทิตย์    ความเย็นในตู้ทำให้แบคทีเรีย  หยุดกิจกรรม  และชลอการเจริญเติบโตทันที    และถ้าคุณแช่จนนมเป็นน้ำแข็ง  แบคทีเรียจะหยุดการเจริญเติบโตทันที   นมสามารถยืดอายุเวลาการเก็บได้เป็นเดือน 

ส่วนประกอบของตู้เย็น
      แนวคิดพื้นฐานการทำงานของตู้เย็นมาจากหลักการทางฟิสิกส์   โดยใช้หลักที่ว่า   ขณะที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส   มันจะดูดความร้อน   ทดลองทา อัลกฮอลล์ ลงบนผิว  จะรู้สึกเย็น  เพราะว่าอัลกฮอลล์ระเหยได้เร็ว  มันจึงดูดความร้อนออกจากผิวและทำให้เกิดความเย็นขึ้น  ของเหลวที่เราใช้ในตู้เย็น   เรียกว่า สารทำความเย็น  (refrigerant)  ซึ่งระเหยที่อุณหภูมิต่ำ    ดังนั้นจึงสามารถลดอุณหภูมิภายในตู้เย็นลงต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้
     คุณลองนำสารทำความเย็นทาลงหลังแขน   (ไม่ควรทำ) และทำให้มันระเหย  ผิวของคุณจะเย็นเหมือนถูกแช่แข็งอย่างไงอย่างงั้น
     ตู้เย็นมีส่วนสำคัญ  5  ส่วนคือ
  • คอมเพรสเซอร์  (Compressor)
  • ท่อแลกเปลี่ยนความร้อน  ส่วนที่เป็นคอยส์ร้อน   มีลักษณะขดไปมาอยู่นอกตู้
  • วาวล์ขยาย  (Expansion  vavle) 
  • ท่อแลกเปลี่ยนความร้อน ส่วนที่เป็นคอยส์เย็น  มีลักษณะขดไปมาอยู่ภายในตู้เย็น
  • สารทำความเย็น   เป็นของเหลวบรรจุอยู่และไหลเวียนอยู่ภายในตู้
     ในวงการอุตสาหกรรม  ส่วนใหญ่จะใช้ แอมโมเนีย  (Ammonia)  เป็นสารทำความเย็น   แอมโมเนียบริสุทธ์ระเหยที่อุณหภูมิ  -32 องศาเซลเซียส
      กลไกพื้นฐานการทำงานของตู้เย็นเป็นดังนี้

  1. คอมเพรสเซอร์อัดสารทำความเย็นที่อยู่ในสถานะแก๊ส  ทำให้อุหภูมิและความดันเพิ่มขึ้น (สีส้ม)  ผ่านไปยังคอยส์ร้อน   อยู่ด้านหลังตู้เย็น ความร้อนถูกระบายออก (ตู้เย็นสมัยใหม่ออกแบบให้สวยงามโดยหลบคอยส์ร้อนไว้ จึงมองไม่เห็น) 
  2. สารทำความเย็นถูกเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว  (สีม่วง)  ไหลผ่านไปยังวาวล์ขยาย  (Epansion vavle)
  3. เมื่อผ่านวาวล์ขยาย   ความดันจะลดลงอย่างรวดเร็ว   สารทำความเย็นที่อยู่ในสถานะของเหลว เปลี่ยนเป็นแก๊สในทันที   (สีน้ำเงิน) 
  4. สารทำความเย็นไหลผ่านเข้าไปในคอยส์เย็น  และดูดความร้อนจากภายในตู้ออกมา  ต่อจากนั้นผ่านเข้าไปในคอมเพรสเซอร์  และถูกอัด เป็นวัฎจักรเข้าสู่ขั้นตอนที่หนึ่ง
    วัฏจักรทำความเย็น
         ตู้เย็นที่อยู่ในครัวของคุณ  ใช้วัฎจักรทำความเย็นที่มีการดูดความร้อนอย่างต่อเนื่อง   ให้เราใช้แอมโมเนียเป็นสารทำความเย็น  ซึ่งเดือดที่อุณหภูมิ  -33  องศาเซลเซียส  วัฎจักรเป็นดังนี้


    1. คอมเพรสเซอร์อัดแอมโมเนียที่อยู่ในสถานะแก๊ส  ทำให้อุหภูมิกับความดันเพิ่มขึ้น (สีส้ม)
    2. คอยส์ร้อน  อยู่ด้านหลังของตู้เย็น  ข่วยระบายความร้อนของแอมโมเนีย  ทำให้แอมโมเนียเปลี่ยนสถานะจากแก๊ส เป็นของเหลว (สีม่วง)
    3. แอมโมเนียความดันสูงขยายผ่านวาวล์ขยาย ( วาวล์ขยายเป็นช่องแคบ เมื่อแก๊สผ่านช่องนี้มันจะขยายตัว  ความดันจะลดลง)  ทำให้แอมโมเนียเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส  ดูดความร้อนออกจากตู้
    4. แก๊สแอมโมเนียไหลกลับเข้าสู่คอมเพรสเซอร์  และถูกอัดวนกลับสู่วัฏจักรข้อแรก
           ลองสังเกตขณะขับรถ  และเปิดแอร์  คุณจะได้ยินเสียงน้ำยาไหลผ่านวาวล์ขยาย
            เป็นที่น่าเสียดายที่ว่า  แก๊สแอมโมเนีย เป็นพิษ    ถ้าในระบบของตู้เย็นมีการรั่วไหล ย่อมเป็นอันตรายยิ่ง  ดังนั้นภายในบ้านจึงไม่ใช้แอมโมเนียเป็นสารทำความเย็น 
            สารทำความเย็น ที่นิยมใช้กันมาก เรียกว่า  CFC  (ย่อมาจาก  Chlorofluorocarbons)  ถูกผลิตขึ้นมาครั้งแรกโดยบริษัท  Dupont  ในปี ค.ศ. 1930  เป็นสารไม่มีพิษ ใช้ทดแทนแอมโมเนีย   
            ในปี 1970  นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า  สาร CFC  เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะชั้นโอโซน  ในบรรยากาศ   ดังนั้น ในปี  ค.ศ.  1990  ทั่วโลก  จึงตัดสินใจหาสารตัวใหม่แทน  CFC    หน้าถัดไปเรามาดูการทำความเย็นแบบอื่นๆ

    การทำความเย็นแบบอื่น
         การทำความเย็นไม่ต้องใช้สารทำความเย็นแต่เพียงอย่างเดียว   มีอุปกรณ์บางชนิด  เพียงแต่คุณเสียบปลั๊กเข้ากับที่สูบบุหรี่  มันก็สามารถให้ความเย็นได้   การทำความเย็นแบบนี้  เป็นปรากฎการณ์ทางวิทยาศาสตร์  เรียกว่า  Peltier  effect  หรือ  Thermo electric  effect
         คุณสามารถสร้างปรากฎการณ์นี้อย่างง่ายๆ  โดยอุปกรณ์ประกอบด้วย  แบตเตอรี่   สายทองแดง 2 เส้น   และเส้นลวดเหล็กผสมบิสมัท   ให้ต่อสายทองแดงทั้งสองเข้ากับขั้วทั้งสองของแบตเตอรี่   และเชื่อมเส้นลวดเข้ากับสายทองแดงทั้งสอง 
          เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลจากสายทองแดงไปที่เส้นลวด  ผ่านจุดเชื่อมเกิดความร้อนขึ้น  และเมื่อกระแสไหลจากเส้นลวด ไปที่สายทองแดง  จุดเชื่อมจะเย็น  อุณหภูมิสามารถลดลงได้ถึง  4.4  องศาเซลเซียส
          ถ้าเราจะสร้างตู้เย็นแบบนี้   ให้นำจุดเชื่อมที่ร้อนไว้นอกตู้  และจุดเชื่อมที่เย็นไว้ภายในตู้  และต้องการความเย็นมากๆ   ก็ให้ต่อจุดเชื่อมหลายๆจุด   ทำให้ความเย็นลดลงไปถึงระดับเย็นเจี๊ยบ
ที่มา http://hhl.tarad.com/article-th-74889-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%99+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A.html



3. ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศและวงจรน้ำยา


หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ - เครื่องทำความเย็น


      ก่อน อื่นต้องขอทำความเข้าใจกันก่อนว่า การปรับอากาศ ความหมายคือ ปรับให้อากาศเย็นหรือร้อนก็ได้ ถ้าพูดถึงปรับอากาศให้เย็น เราจะนึกถึงคำว่าแอร์นั่นเอง ในที่นี้เราจะพูดคุยกันอย่างง่ายๆ ถามว่าแอร์เกี่ยวกับความร้อนหรือไม่ เกี่ยวแน่นอน เพราะแอร์เป็นตัวนำความร้อนจากภายในห้อง ออกไปทิ้งข้างนอก ทิ้งอย่างไรมันมีขบวนการของมันโดยใช้เครื่องมือ ตัว คือ

1. EVAPPORATOR
2. COMPRESSOR
3. CONDENSER
4. CAPILLARY TUBE

EVAPPORATOR คือ เครื่องระเหย หรือที่ช่างแอร์เรียกว่า คอล์ยเย็น การทำงานของมันคือ ดูดความร้อนจากภายในห้อง โดยมีมอเตอร์พัดลมเป็นตัวดูดเข้ามา ผ่านช่องที่เรียกว่า RetumAir ซึ่งมี Filter เป็น ตัวกรองฝุ่นให้ก่อน แล้วความร้อนที่ถูกดูดเข้ามานั้น จะมาสัมผัสกับคอล์ยเย็นซึ่งมีนำยาแอร์(ของเหลว) ซึ่งอุณหภูมิติดลบ วิ่งอยู่ในท่อนั้น จะเกิดการระเหยเป็นไอ(แรงดันต่ำ)

COMPRESSOR คือ เครื่องอัดไอ การทำงานหรือหน้าที่ของมันคือ ดูดไอ(แรงดันตำ) ซึ่งเกิดจากการระเหยภายในคอล์ยเย็น ทำการอัดให้เป็นไอ(แรงดันสูง) อุณหภูมิสูง เพื่อส่งไประบายความร้อนต่อไป

CONDENSER คือเครื่องควบแน่น หรือช่างแอร์เรียกว่า คอล์ยร้อน หน้าที่ของมันคือรับไอร้อนที่ถูก COMPRESSOR อัด จนร้อนและมีอุณหภูมิสูง เข้ามาในแผงพื้นที่ของมัน จากไอที่มีอุณหภูมิสูง เมื่อมาเจอกับอากาศภายในห้อง ซึ่งมีอุณหภูมิตำกว่า ความร้อนจึงถูกถ่ายเทออกไปได้โดยไอร้อนนั้น จะควบแน่นกลายเป็นของเหลว(แรงดันสูง-อุณหภูมิสูง)แต่มีมอเตอร์พัดลมเป็นตัว ช่วยระบายความร้อนออกไปให้เร็วขึ้น เมื่อเป็นของเหลวแล้วก็สามารถกลับมารับความร้อนภายในห้องได้อีก แต่ของเหลวนั้นยังมีอุณหภูมิสูงอยู่ จึงต้องทำให้อุณหภูมินั้นลดลงก่อน

CAPILLARY TUBE คือ ท่อลดแรงดันหรือท่อรูเข็ม ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเล็กมาก ช่างแอร์จะเรียกว่า แค๊ปทิ้ว หน้าที่ของมันคือลดแรงดันของน้ำยาแอร์(ของเหลว)จากที่ถูกระบายความร้อนแล้ว ยังมีอุณหภูมิสูง-แรงดันสูง เมื่อมาเจอท่อรูเข็ม ทำให้ของเหลวอั้น ผ่านได้น้อย ทำให้ของเหลวนั้น มีอุณหภูมิลดลง และแรงดันลดลง น้ำยาแอร์(ของเหลว)และไหลพอดีเหมาะสมกับพื้นที่ของคอล์ยเย็ย เพื่อที่จะมารับความร้อน ในห้องได้อีกครั้ง

หลักการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ (ดูรูปประกอบ)



หลังจากได้ทราบถึงวงจรการทำงานของเครื่องปรับอากาศแล้ว เราจะมาศึกษาถึงที่มาที่ไปบ้าง
ระบบการทำความเย็นที่เรากำลังกล่าวถึงคือระบบอัดไอ (Vapor-Compression Cycle) ซึ่งมีหลักการทำงานง่ายๆคือ การทำให้สารทำความเย็น (น้ำยา) ไหลวนไปตามระบบ โดยผ่านส่วนประกอบหลักทั้ง 4 อย่างต่อเนื่องเป็น วัฏจักรการทำความเย็น (Refrigeration Cycle) โดยมีกระบวนการดังนี้
1) เริ่มต้นโดยคอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นเพื่อเพิ่มความดัน และอุณหภูมิของน้ำยา แล้วส่งต่อเข้าคอยล์ร้อน

2) น้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์ร้อนโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อน ทำให้น้ำยาจะที่ออกจากคอยล์ร้อนมีอุณหภูมิลดลง (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งต่อให้อุปกรณ์ลดความดัน

3) น้ำยาที่ไหลผ่านอุปกรณ์ลดความดันจะมีความดันและอุณหภูมิที่ต่ำมาก แล้วไหลเข้าสู่คอยล์เย็น (หรือที่นิยมเรียกกันว่า การฉีดน้ำยา)

4) จากนั้นน้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์เย็นโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยดูดซับความร้อน จากภายในห้อง เพื่อทำให้อุณหภูมิห้องลดลง ซึ่งทำให้น้ำยาที่ออกจากคอยล์เย็นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งกลับเข้าคอมเพรสเซอร์เพื่อทำการหมุนเวียนน้ำยาต่อไป

หลังจากที่เรารู้การทำงานของวัฏจักรการทำความเย็นแล้วก็พอจะสรุปง่ายๆได้ดังนี้

1) สารทำความเย็นหรือน้ำยา ทำหน้าที่เป็นตัวกลางดูดเอาความร้อนภายในห้อง (Indoor) ออกมานอกห้อง (Outdoor) จากนั้นน้ำยาจะถูกทำให้เย็นอีกครั้งแล้วส่งกลับเข้าห้องเพื่อดูดซับความร้อน อีก โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดการทำงานของคอมเพรสเซอร์

2) คอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวในระบบที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนน้ำยาผ่าน ส่วนประกอบหลัก คือคอยล์ร้อน อุปกรณ์ลดความดัน และคอยล์เย็น โดยจะเริ่มทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องสูงเกินอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ และจะหยุดทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องต่ำกว่าอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ ดังนั้นคอมเพรสเซอร์จะเริ่ม และหยุดทำงานอยู่ตลอดเวลาเป็นระยะๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิห้องให้สม่ำเสมอตามที่เราต้องการ

คำว่า BTU ที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ เป็นหน่วยความร้อน ย่อมาจาก BRITISH THERMAL UNIT ส่วนที่เรียกว่า แอร์ ตัน, 2 ตัน คำว่าตันนั้น หมายถึงตันความเย็น เป็นประสิทธิภาพในการทำความเย็น ที่เรียกตันความเย็น มีที่มาดังนี้

น้ำ ทำให้เป็นนำแข็ง ตัน (2000 Ib) ใน1วัน (24 ช.ม)
ค่าความร้อนแฝงการทำละลายของน้ำแข็ง 144 BTU / น้ำแข็ง ปอนด์
2000 Ib x 144 BTU/Ib 1ตัน = 12000 BTU/h
24h

ส่วนใหญ่แอร์ 1ตัน ประมาณ 12000 BTU ถ้าตันครึ่งหมายถึง 18000 BTU เป็นต้น

ต่อไปจะเปรียบเทียบ ระหว่างแอร์ธรรมดา กับแอร์ เบอร์ 5
กรณีเป็นแอร์ เบอร์หรือค่า EER=10.6 ขึ้นไป (EER= ENERGY EFFICIENCY RATIO) หมายความว่า ประสิทธิภาพการทำความเย็น หรือ BTU กำลังไฟฟ้า watt
สมมุติว่าแอร์ 12000 BTU. ใช้กำลังไฟฟ้าจากคอมเพรสเซอร์ทำงาน 1000 watt จะได้ค่า EER= 12000 =12 นั่นคือได้เบอร์เพราะ EER เกิน 10.6 1000
แต่ถ้าแอร์ 12000 BTU.ใช้กำลังไฟฟ้าจากคอมเพรสเซอร์ทำงาน 1200 watt จะได้ค่า EER= 12000 =10 นั่นคือไม่ได้เบอร์5เพราะ EER ไม่ถึง 10.6 1200

ถ้าเปรียบเทียบกับแอร์ มาเป็นคนละ จะเห็นว่า คน ทำงานเท่ากันแต่คนหนึ่งกินข้าวมากกว่า ส่วนอีกคนกินข้าวน้อย เราควรจะเลือกใช้คนแบบไหนดี

มาดูต่อเรื่อง Compressor เราจะพูดถึงแต่Com. ที่ใช้กับแอร์บ้าน เรียงลำดับตามประสิทธิภาพ

1. แบบลูกสูบ ประสิทธิภาพดีที่สุด ข้อเสีย เสียงดัง กินไฟ
2.แบบสกรอล ประสิทธิภาพ รองลงมา แต่ทนกว่า กินไฟปานกลาง มีตั้งแต่ 18000 BTU ขึ้นไป
3.แบบโรตารี่ ประสิทธิภาพ กินไฟน้อย เสียงเงียบ ราคาถูก ขนาดใหญ่สุดมีแค่ 36000 BTU

การทำงานของแอร์บ้าน จะเป็นการระบายความร้อนทางตรง หรือระบายความร้อนด้วยอากาศ คือน้ำยาแลกเปลี่ยนความร้อน กับอากาศ โดยตรง
INVERTER คือระบบที่ควมคุมการปรับอากาศ ให้เป็นอย่างราบเรียบ และคงที่ ด้วยการปรับเปลี่ยนรอบการหมุนของคอมเพรสเซอร์ โดยการเปลี่ยนความถึ่ของกระแสไฟที่จ่ายให้กับมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์แทนการ ทำงานแบบ ติด-ดับ-ติด-ดับ ใน เครื่องปรับอากาศ แบบเก่า ทำให้ระบบ Inverter สามารถควบคุมอุณภูมิได้แม่นยำมากขึ้น และที่สำคัญ คือ ประหยัด
PLASMACLUSTER ทำให้สุขภาพของผู้ใช้ เครื่องปรับอากาศ แอร์ แอร์บ้าน ดีขึ้น
ระบบฟอกอากาศที่ให้กับ เครื่องปรับอากาศ ทุกวันนี้
  • ระบบแผ่นฟอก หรือตะแกรงประจุที่อยู่ภายในเครื่อง
  • ระบบพ่นอนุภาคไฟฟ้าออกมานอกเครื่อง แบ่งเป็น (พ่นอนุภาคไฟฟ้า - เพียงอย่างเดียว, พ่นอนุภาคไฟฟ้า + และ - ทั้งคู่)
ระบบแผ่นฟอก หรือตะแกรงประจุ ที่อยู่ภายใน เครื่องปรับอากาศ แอร์ แอร์บ้าน จะ ดีสำหรับการดักจับฝุ่น ควัน เพราะจะถูกดูดเข้ามาในเครื่อง แต่ก็จะไม่ได้ผลในกรณีที่ผู้ใช้แอร์ไม่ยอมเปลี่ยนแผ่นฟอก หรือทำความสะอาดตะแกรงประจุบ่อยๆ สำหรับเชื้อโรคบางชนิดก็สามารถถูกดักจับได้เหมือนกัน แต่ก็ติดปัญหาที่ว่ามันไม่ตายและสะสมอยู่ภายในเครื่อง สังเกตุได้จากการมีกลิ่นอับชื้นตอนเปิดแอร์ ซึ่งเกิดจากเชื้อราภายในเครื่อง ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้ เช่น จาม คัดจมูก หนักหน่อยก็พัฒนาเป็นโรคหอบหืด
ระบบพ่นอนุภาคไฟฟ้า - ออกมานอกเครื่อง จะมีผลทำให้ร่างกายสดชื่น ไม่มีผลต่อการฆ่าเชื้อโรค สลายกลิ่นอับชื้น
ระบบ พ่นอนุภาคไฟฟ้า + และ - ออกมานอกเครื่อง (ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์) จะมีผลไปฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส ที่ลอยในอากาศ ทุกซอกทุกมุมของห้อง ส่าสุดค้นพบว่าพลาสม่าคลัสเตอร์สามารถสลายสารก่อภูมิแพ้จากตัวไรฝุ่นได้ ประสิทธิภาพเหล่านี้ถูกรับรองจากสถาบันวิจัยนานาชาติ 8 แห่ง
ที่มาhttp://www.108air.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%20%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99.html


4.มอเตอร์ในระบบเครื่องปรับอากาศ 1 เฟส 3 เฟส



5.อุปกรณ์ไฟฟ้าในเครื่องปรับอากาศ



มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับคาปาซิเตอร์มอเตอร์(Capacitor motor)
               คาปาซิสตอร์เตอร์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส ที่มีลักษณะคล้ายสปลิทเฟสมอเตอร์มากต่างกันตรงที่มีคาปาซิเตอร์เพิ่มขึ้นมา ทำให้มอเตอร์แบบนี้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าสปลิทเฟสมอเตอร์ คือมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงใช้กระแสขณะสตาร์ทน้อยมอเตอร์ชนิดนี้มีขนาดตั้งแต่ 1/20  แรงม้าถึง 10  แรงม้า มอเตอร์นี้นิยมใช้งานเกี่ยวกับ ปั๊มนํ้า เครื่องอัดลม ตู้แช่ ตู้เย็น ฯลฯ
        ส่วนประกอบของคาปาซิเตอร์มอเตอร์โครงสร้างของคาปาซิเตอร์มอเตอร์ มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เหมือนกับแบบสปลิทเฟส
เกือบทุกอย่าง คือ
     1. โรเตอร์เป็นแบบกรงกระรอก
     2. สเตเตอร์ประกอบด้วยขดลวด 2 ชุด คือ ชุดสตาร์ทและชุดรัน
     3. ฝาปิดหัวท้ายประกอบด้วย ปลอกทองเหลือง ( Bush ) หรือตลับลูกปืน ( Ball bearing ) สำหรับรองรับเพลา
     4. คาปาซิเตอร์หรือคอนเดนเซอร์ ( Capacitor or Condenser
1. โรเตอร์เป็นแบบกรงกระรอก
2. สเตเตอร์ประกอบด้วยขดลวด2 ชุด คือ ชุดสตาร์ทและชุดรัน

 3. ฝาปิดหัวท้ายประกอบด้วย ปลอกทองเหลือง( Bush )
หรือตลับลูกปืน( Ball bearing )  สำหรับรองรับเพลา

     
4. คาปาซิเตอร์หรือคอนเดนเซอร์ ( Capacitor or Condenser)
    ที่ใช้กับมอเตอร์แบบเฟสเดียวมี 3 ชนิดคือ
1. แบบกระดาษหรือPaper capasitor
2. แบบเติมนํ้ามันหรือ Oil -filled capasitor
3. แบบนํ้ายาไฟฟ้าหรือElectrolytic capasitor

     ชนิดของคาปาซิเตอร์มอเตอร์

     คาปาซิเตอร์มอเตอร์แบ่งออกเป็น 3 แบบคือ

     1.คาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ ( Capacitor start motor )
     2..คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ ( Capacitor run motor )
     3.คาปาซิเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ ( Capacitor start and run motor )

     หลักการทำงานของคาปาซิเตอร์มอเตอร์

     ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์เหมือนกับสปลิทเฟส แต่วงจรขดลวดสตาร์ทพันด้วยขดลวดใหญ่ขึ้นกว่าสปลิทเฟส และพันจำนวนรอบมากขึ้นกว่าขดลวดชุดรัน แล้วต่อตัวคาปาซิเตอร์ ( ชนิดอิเล็กโทรไลต์ ) อนุกรมเข้าในวงจรขดลวดสตาร์ท มีสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางตัดตัวคาปาซิสเตอร์และขดสตาร์ทออกจากวงจร

     1.คาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ ( Capacitor start motor )

     การทำงานของคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ เหมือนกับแบบสปลิทเฟสมอเตอร์ แต่เนื่องด้วยขดลวดชุดสตาร์ทต่ออนุกรมกับคาปาซิเตอร์ ทำให้กระแสที่ไหลเข้าในขดลวดสตาร์ทถึงจุดสูงสุดก่อนขดลวดชุดรัน จึงทำให้กระแสในขดลวดสตาร์ทนำหน้าขดลวดชุดรันซึ่งนำหน้ามากกว่าแบบสปิทเฟสมอเตอร์ คาปาซิเตอร์มอเตอร์จึงมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงมาก สำหรับมอเตอร์ชนิดคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ หลังจากสตาร์ทแล้วมอเตอร์หมุนด้วยความเร็วรอบถึง  75 เปอร์เซ็นต์ของความเร็วสูงสุดสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีจากศูนย์กลาง คาปาซิเตอร์จะถูกตัดจากวงจรดังแสดงรูปวงจรการทำงาน



รูปแสดงการทำงานวงจรคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์

     2.คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ ( Capacitor run motor )
     ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาปาซิเตอร์รันมอเตอร์เหมือนกับชนิดคาปาซิเตอร์สตาร์ท แต่ไม่มี สวิตช์แรงเหวี่ยง ตัวคาปาซิเตอร์จะต่ออยู่ในวงจรตลอดเวลา ทำให้ค่าพาวเวอร์แฟคเตอร์ดีขึ้น และโดยที่คาปาซิเตอร์ต้องต่อถาวรอยู่ขณะทำงาน ดังนั้นคาปาซิเตอร์ประเภทน้ำมันหรือกระดาษฉาบโลหะ
     แต่สำหรับมอเตอร์ชนิดคาปาซิเตอร์รัน คาปาซิเตอร์จะต่ออยู่ในวงจรตลอดและเนื่องจากขดลวดชุดสตาร์ทใช้งานตลอดเวลา การออกแบบจึงต้องให้กระแสผ่านขดลวดน้อยกว่าแบบคาปาซิเตอร์สตาร์ท โดยการลดค่าของคาปาซิสเตอร์ลง ดังนั้นแรงบิดจึงลดลงกว่าแบบคาปาซิสเตอร์สตาร์ทแต่ยังสูงกว่าแบบสปลิทเฟสมอเตอร์


รูปแสดงวงจรการทำงานคาปาซิเตอร์รันมอเตอร ์

     3.คาปาซิเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ ( Capacitor start and run motor )
     ลักษณะโครงสร้างของคาปาซิเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ชนิดนี้จะมีคาปาซิเตอร์ 2 ตัว คือคาปาซิเตอร์สตาร์ทกับคาปาซิเตอร์รัน คาปาซิเตอร์สตาร์ทต่ออนุกรมอยู่กับสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง หรือเรียกว่าเซ็นติฟูกัลสวิตช์ ส่วนคาปาซิเตอร์รันจะต่ออยู่กับวงจรตลอดเวลา คาปาซิเตอร์ทั้งสองจะต่อขนานกัน ซึ่งค่าของคาปาซิเตอร์ทั้งสองนั้มีค่าแตกต่างกัน
     มอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์สตาร์ทและรัน ได้มีการออกแบบมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงขึ้นโดยคาปาซิสเตอร์รันต่อขนานกับคาปาซิเตอร์สตาร์ท เมื่อมอเตอร์ไฟฟ้าหมุนไปได้ความเร็วรอบ  75 เปอร์เซ็นต์ของความเร็วรอบสูงสุด ส่วนคาปาซิเตอร์รันต่ออยู่ในวงจรตลอดเวลาจึงทำให้มอเตอร์ที่มีกำลังสตาร์ทสูงและกำลังหมุนดีด้วยดังแสดงรูปวงจรการทำงาน


รูปแสดงวงจรการทำงานคาปาซิสเตอร์สตาร์ทและคาปาซิเตอร์รัน

     การกลับทางหมุน

     การกลับทางหมุนการกลับทางหมุนของคาปาซิเตอร์มอเตอร์คือ กลับขดลวดขดใดขดหนึ่งขดสตาร์ทหรือขดรันเช่นเดีวยกันกับสปลิทเฟสมอเตอร์


รูปแสดงการกลับทางหมุนของคาปาซิเตอร์มอเตอร์








 Current Relay



- ป้องกันความเสียหายของ Motor และ Load
- ป้องกันกระแสเกินหรือกระแสตก
- ตั้งหน่วงเวลาได้ 0 -10 วินาที
- ตั้งหน่วงเวลาขณะสตาร์ทได้ 0 - 30 วินาที
- SPDT Relay Output

            Current Relay CR 95 เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้ป้องกันกระแสไฟฟ้าสูงกว่าค่ากำหนด (Over Current) หรือกระแสไฟฟ้าต่ำกว่าค่ากำหนด (Under Current) Current Relay จะตรวจสอบค่ากระแสไฟฟ้า เมื่อกระแสเกินกว่าค่าที่ตั้งไว้ รีเลย์จะทำงานพร้อมทั้งมี LED สีแดงติดสว่าง การตั้งค่ากระแส ใช้ปุ่มปรับ "CURRENT" การทำงานของรีเลย์สามารถตั้งหน่วงเวลาได้ 0 - 10 วินาที โดยปรับปุ่ม "DELAY" นอกจากนี้ยังสามารถตั้งหน่วงเวลา เฉพาะในขณะเริ่มสตาร์ท ("START DELAY") ได้ 0 - 30 วินาที เพื่อป้องกัน Starting Current ทำให้รีเลย์ทำงาน Current Relay สามารถนำไปใช้ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าได้หลายลักษณะ เช่น
  • ป้องกันมอเตอร์ Over Load ซึ่งความไวของ Current Relay นี้จะไวกว่าชุด Overload ชนิด Bimetal ที่ใช้ทั่วไปทำให้ สามารถป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับมอเตอร์และโหลดของมอเตอร์ได้ดีกว่า
     
  • ในงานบางอย่าง ถ้ากระแสมีค่าต่ำกว่าปกติ (Under Current) จะเกิดความเสียหายได้ เช่น ฮีทเตอร์ขาด, สายพานขาดหรือปั๊มพ์ทำงานโดยไม่มีของเหลวไหลผ่านซึ่ง Current Relayสามารถใช้ป้องกันความเสียหายเหล่านี้ได้





ฮอตไวร์รีเลย์ (Hot Wire Relay)  





  ส่วนประกอบของแอร์    
ฮอตไวร์รีเลย์ (Hot Wire Relay) : 
    หลักการทำงานของฮอตไวร์รีเลย์ขึ้นอยู่กับผลของความร้อนที่เกิดขึ้นกับลวดความร้อน (Hot Wire) ในขณะที่สตาร์ตมอเตอร์ กระแสจะสูงผ่านลวดความร้อนเกิดการขยายตัว ทำให้หน้าสัมผัสของรีเลย์ที่ต่อไปยังขดลวดของมอเตอร์จากออก ซึ่งเป็นการตัดขดลวดสตาร์ตออกจากวงจร 

ฮอตไวร์รีเลย์ประกอบด้วยหน้าสัมผัส 2 ชุดคือ 

1. หน้าสัมผัส S ซึ่งต่อเป็นอนุกรมอยู่กับขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ 
2. หน้าสัมผัส M ซึ่งต่อเป็นอนุกรมอยู่กับขดลวดของมอเตอร์ 

  ตามปกติหน้าสัมผัสทั้งคู่ของรีเลย์ชนิดนี้จะต่อกันอยู่ ฉะนั้นในช่วงจังหวะสตาร์ตมอเตอร์ทั้งขดลวดสตาร์ตและขดลวดรันจึงอยู่กับวงจร ในช่วงจังหวะการสตาร์ตนี้กระแสจะสูง และผ่านลวดความร้อนทำให้เกิดการขยายตัว ดึงเอาหน้าสัมผัส S ให้จากออกซ่วงเป็นการตัดขดลวดสตาร์ตออกจากวงจร ภายหลังจากที่ขดลวดสตาร์ตถูกตัดออกจากวงจรแล้ว กระแสซึ่งผ่านลวดความร้อนและขดลวดรันของมอเตอร์ยังคงทำให้มอเตอร์หมุนตามปกติอยู่ และคงมีความร้อนเพียงพอที่จะพึงให้หน้าสัมผัส S จากอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มากพอที่จะขยายตัวจนหน้าสัมผัส M จากออก  





รีเลย์ช่วยสตาร์ตชนิดทำงานด้วยค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า (Potential Relay)

รีเลย์ช่วยสตาร์ตชนิดทำงานด้วยค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า ใช้ในวงจรที่มอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์ต่อแบบ CSR โดยอาศัยค่าความต่างศักย์ที่เกิดจากขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์กระทำผ่านขดลวดในรีเลย์ ทำการตัดหน้าสัมผัสในรีเลย์ จึงเรียกรีเลย์ชนิดนี้ว่า Potential Relay

เทอร์โมสตัส อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิภายในตู้เย็น

เทอร์โมสตัสเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิภายในตู้เย็นหรือภายในห้องปรับอากาศให้อยู่ในช่วงที่ต้องการโดยอัตโนมัติ ในขณะที่อุณหภูมิในตู้เย็นหรือในห้องปรับอากาศยังสูงอยู่ หน้าสัมผัสของเทอร์โมสตัสจะต่ออยู่ มอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะทำงานดูดอัดสารความเย็น ทำให้เกิดผลความเย็นที่อีวาพอเรเตอร์ และเมื่ออุณหภูมิภายในตู้เย็นหรือในห้องปรับอากาศลดต่ำลงถึงจุดที่ตั้งไว้ หน้าสัมผัสของเทอร์โมสตัสจะแยกจาก ทำให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน จนกระทั้งอุณหภูมิภายในห้องปรับอากาศสูงขึ้นอีก หน้าสัมผัสของเทอร์โมสตัตจะต่ออีกครั้งหนึ่ง ทำให้คอมเพรสเซอร์เริ่มทำงานใหม่ ซึ่งเป็นการควบคุมอุณหภูมิภายในตู้เย็นหรือภายในห้องปรับอากาศให้อยู่ในช่วงที่ต้องการโดยอัตโนมัติ เครื่องปรับอากาศขนาดเล็กในปัจจุบัน ได้นำเอาเทอร์โมสตัสแบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ในการควบคุมอุณหภูมิ

แม็กเนติกคอนแทกเตอร์ (Magnetic Contactor)

แม็กเนติกคอนแทกเตอร์ (Magnetic Contactor) เป็นสวิตซ์อีกชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นขดลวดหรือคอยล์ ซึ่งเมื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าในขดลวดแล้วจะเกิดสนามแม่เหล็กขึ้น และอีกส่วนหนึ่งเป็นหน้าสัมผัสของตัวแม็กเนติคอนแทกเตอร์ ทำหน้าที่ตัดหรือต่อวงจรไฟฟ้า กำลังที่ป้อนเข้าโหลด หลักการทำงานของแม็กเนติกคอนแทกเตอร์คือ เมื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าในขดลวดจะเกิดสนามแม่เหล็กขึ้นรอบขดลวด มีอำนาจดูดเหล็กอาร์มาเจอร์ (Armature) ซึ่งแกนเหล็กนี้ปลายข้างหนึ่งจะต่ออยู่กับหน้าสัมผัสเคลื่อนที่ (Moving Contact) และปลายอีกข้างหนึ่งวางอยู่บนสปริง ซึ่งจะคอยผลักแกนเหล็กอาร์มาเจอร์ให้หน้าสัมผัสจาก เมื่อขดลวดเกิดสนามแม่เหล็กและมีอำนาจมากกว่าแรงดันสปริง แกนอาร์มาเจอร์จะถูกดูด ทำให้หน้าสัมผัสต่อกัน และเมื่อตัดกระแสไฟฟ้าที่ป้อนเข้าขดลวด อำนาจแม่เหล็กรอบขดลวดจะหมดไป แรงดันสปริงจะผลักแกนเหล็กอาร์มาเจอร์ให้หน้าสัมผัสจากออก
หน้าสัมผัสของแม็กเนติกคอนแทกเตอร์ในหนึ่งตัวอาจจะมีขั้วเพียงขั้วเดียว หรือ 2 ขั้ว หรือ 3 ขั้วก็ได้ และหน้าสัมผัสอาจเป็นแบบปกติเปิดทั้งหมด หรืออาจจะมีทั้งหน้าสัมผัสปกติเปิดและปกติปิดสลับกันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบและวงจรการควบคุม
การเลือกแม็กเนติกคอนแทกเตอร์เพื่อใช้งานต้องคำนึงถึงหลักเบื้องต้นดังนี้
  1. ขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ป้อนเข้าขดลวดของแม็กเนติกคอนแทกเตอร์ จะมีขนาด คือ 6 โวลต์ DC, 12 โวลต์ DC, 24 โวลต์ AC, 48 โวลต์ AC, 220 โวลต์ AC และ 380 โวลต์ AC เป็นต้น
  2. ขนาดการทนกระแสของหน้าสัมผัส จะขึ้นอยู่กับการกินกระแสของโหลดที่ต้องการควบคุมซึ่งมีขนาดคือ 20, 25, 30, 40, 50 และ 60 แอมแปร์ หรือมากกว่าขึ้นไป เป็นต้น
  3. จำนวนขั้วของหน้าสัมผัส จะขึ้นอยู่กับจำนวนสายไฟที่ต้องการควบคุมการตัด-ต่อ เช่น ถ้าต้องการตัด – ต่อวงจรที่มีสายไฟ 3 เส้น ก็ต้องใช้หน้าสัมผัส 3 ขั้ว เป็นต้น
  4. ชนิดของหน้าสัมผัสจะขึ้นอยู่กับโหลดที่ต้องการใช้งาน และขนาดของกระแสไฟ

รีเลย์ (Relay) ทีใช้ในงานเครื่องทำความเย็น

รีเลย์ (Relay) ทีใช้ในงานเครื่องทำความเย็นจะต่อเข้ากับวงจรมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ เพื่อทำหน้าที่ตัดไฟฟ้าซึ่งเข้าเลี้ยงขดลวดสตาร์ตออกจากวงจรเมื่อมอเตอร์หมุนออกตัวได้แล้ว เช่นเดียวกับสวิตซ์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์ที่อยู่ภายในมอเตอร์ ซึ่งจะคอยตัดขดลวดสตาร์ตออกจากววจรโดยอัตโนมัติ เมื่อมอเตอร์หมุนและมีความเร็วรอบตามเกณฑ์แล้ว แต่โดยที่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบเฮอร์เมติกไม่สามารถติดตั้งสวิตซ์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์เข้าไว้ภายในตัวเรือนได้ จึงจำเป็นต้องใช้รีเลย์ต่อเข้ากับวงจรภายนอกทำหน้าที่แทน ซึ่งรีเลย์ที่พบใช้ในงานเครื่องทำความเย็น แบ่งออกได้ดังนี้
  1. เคอร์เรนต์รีเลย์ (Current Relay)
  2. โพเทนเชียลรีเลย์ (Potential Relay)
  3. ฮอตไวร์รีเลย์ (Hot Wire Relay)
ตามปกติขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ควรจะมีไฟเลี้ยงในจังหวะสตาร์ตเพียงช่วงสั้น ๆ ประมาณ 3-4 วินาที เพราะถ้าปล่อยให้กระแสไฟฟ้าผ่านเข้าเลี้ยงขดลดสตาร์ตนานเกินไป ขดลวดสตาร์ตอาจร้อนจัด ทำให้เกิดอันตรายต่อมอเตอร์ได้ ฉะนั้นในการทำงานที่ถูกต้อง รีเลย์ที่ใช้ต้องให้ได้ขนาดพอดีกับมอเตอร์ การซ่อมเปลี่ยนรีเลย์ใหม่จะต้องแน่ใจว่ารีเลย์ใหม่นี้มีขนาดและคุณสมบัติในการใช้งานเท่ากับรีเลย์ตัวเดิมเสมอ

โอเวอร์โหลด อุปกรณ์ป้องกันมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ชำรุด

โอเวอร์โหลดเป็นอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์เกิดการชำรุดเสียหายเมื่อระบบเครื่องทำความเย็นเกิดการขัดข้อง และถ้ามอเตอร์คอมเพรสเซอร์กินกระแสมากเกินไปโอเวอร์โหลดจะตัดวงจรไฟที่ป้อนเข้ามอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก่อนที่ขดลวดของมอเตอร์จะไหม้
หลักการทำงานของโอเวอร์โหลดจะอาศัยหลักของโลหะ 2 ชนิดที่มีสัมประสิทธิ์การขยายตัวไม่เท่ากันมาตรึงติดกัน ในขณะที่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ทำงานเป็นปกติ หน้าสัมผัสของโอเวอร์โหลดจะมีไฟเข้าเลี้ยงขดลวดของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์อยู่ตลอดเวลา และถ้ามอเตอร์คอมเพรสเซอร์กินกระแสมากเกินไปจะเกิดความร้อน โลหะทั้งสองชนิดจะขยายตัวไม่เท่ากันและจะเกิดการงอตัว ทำให้หน้าสัมผัสจากออกเพื่อตัดวงจรไฟที่เข้าเลี้ยงขดลวดของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ป้องกันไม่ให้ขดลวดของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไหม้และอุณหภูมิของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์เย็นลง โลหะทั้งสองชนิดจะเกิดการหดตัวดึงให้หน้าสัมผัสของโอเวอร์โหลดต่อกันอีกครั้งหนึ่ง ทำให้มีไฟเข้าเลี้ยงขดลวดของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ใหม่ และถ้าอาการขัดข้องของระบบเครื่องทำความเย็นยังไม่ได้รับการแก้ไข โอเวอร์โหลดจะตัด-ต่อวงจรอยู่ตลอดเวลา ซึ่งต้องรีบตัดไฟเข้าเครื่องหรือถอดปลั๊กไฟออก และตรวจหาข้อขัดข้องทันที
ที่มาhttp://krawit.blogspot.com/2016/12/blog-post_7.html








วงจรไฟฟ้าเบื้องต้นของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ 1 เฟส


     วงจรไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้มอเตอร์คอมเพรศเซอร์สตาร์ทออกตัวและรันต่ออย่างราบรื่นไปจนกว่าจะตัดไฟเพื่อหยุดการทำงาน ซึ่งในบทความฉบับนี้ ผู้เขียนขอกล่าวถึงวงจรไฟฟ้าที่ใช้ในการสตาร์ทออกตัวและรันมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศ ระบบไฟแบบ 1 เฟส หรือแบบเฟสเดียว เพราะวงจรไฟฟ้าของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบ 1 เฟส จะมีความยุ่งยากและซับซ้อนกว่าแบบ 3 เฟส และอีกประการ บ้านพักอาศัยทั่วไปใช้ไฟฟ้าระบบ 1 เฟส เครื่องปรับอากาศ แบบ 1 เฟส จึงเป็นแบบที่ใช้กันมากในบ้านพักอาศัยและอาคารสำนักงานทั่วไป


คอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศที่ใช้กันอยู่ในที่พักอาศัย เป็นคอมเพรสเซอร์แบบปิดสนิท ที่มีการนำเอาส่วนของตัวอัดสารทำความเย็น คือคอมเพรสเซอร์ และระบบต้นกำลังคือ มอเตอร์ มารวมไว้ด้วยกัน มอเตอร์ที่ใช้ขับเคลื่อนคอมเพรสเซอร์ ในระบบไฟฟ้า 1 เฟส จะใช้เป็นมอเตอร์แบบสปลิทเฟส (Split-phase motor) 


ภายในสปลิทเฟสมอเตอร์จะมีขดลวดพันอยู่ 2ชุด คือ

1. ขดรันหรือขดเมน(Running Winding หรือ Main Winding) พันด้วยลวดเส้นใหญ่จำนวนรอบมาก ขดลวดรันนี้จะมีไฟฟ้าไหลผ่านอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มสตาร์ทหรือทำงานปกติ

2. ขดสตาร์ท(Starting winding) เป็นขดลวดชุดที่สองสำหรับเริ่มหมุน พันด้วยลวดเส้นเล็กและจำนวนรอบน้อยกว่าขดรันขดลวดสตาร์ท ขดลวดสตาร์ท จะทำงานเพียงในช่วงที่มอเตอร์เริ่มออกตัวเท่านั้น แต่ภายหลังที่มอเตอร์ออกตัวได้ปกติ ขดลวดสตาร์ทจะไม่มีกระแสไฟฟ้าจ่ายเข้า เพราะถ้าปล่อยให้กระแสไฟจ่ายเข้าสู่ขดลวดสตาร์ทแบบเต็มที่ จะทำให้ขดลวดสตาร์ทร้อนจัดจนไหม้ได้ ซึ่งในมอเตอร์แบบสปลิทเฟสทั่วไป อุปกรณ์ในการตัดไฟที่จ่ายเข้าขดสตาร์ท จะใช้เป็น สวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง


วิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง(Cntricfugal switch) 

สวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางนี้ทำหน้าที่ตัดวงจรสตาร์ท สวิตช์แรงเหวี่ยงนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือส่วนที่อยู่กับที่(Stationary pasrt)จะประกอบติดอยู่กับ
ฝาปิดหัวท้ายของมอเตอร์ซึ่งเป็นส่วนของหน้าสัมผัสหรือหน้าทองขาวอยู่ 2 อันและส่วนที่หมุน(Rotating part) ส่วนที่ติดอยู่กับเพลาของโรเตอร์ การทำงานของสวิทช์หนีศูนย์กลางเมือความเร็วรอบของมอเตอร์ได้75เปอร์เซ็นต์ของความเร็วรอบสูงสุดของมอเตอร์จะทำให้ส่วนที่ติดอยู่ กับแกนเพลาของโรเตอร์ผลักดันส่วนที่ติดตั้งอยู่กับฝาของมอเตอร์ทำให้หน้าสัมผัสแยกออกจากกันตัดวงจรขดสตาร์อย่างอัตโนมัติ แต่ มอเตอร์สปลิทเฟสที่ใช้ในคอมเพรสเซอร์ ไม่สามารถตัดวงจรของขดลวดสตาร์ทด้วย สวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง ได้ จึงจาเป็นต้องมีการนำ รีเลย์หรือคาปาซิเตอร์ มาเป็นอุปกรณ์ช่วย ในการสตาร์ทและรันมอเตอร์


มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศเครื่องปรับอากาศ มอเตอร์ที่บรรจุอยู่ภายในตัวถังของคอมเพรสเซอร์เป็นมอเตอร์แบบ สปลิทเฟส มีจำนวนรอบการทำงานสูงสุดที่ประมาณ 2,900 รอบ/นาที มีหลักหรือขั้วต่อสายโผล่ออกมานอกตัวเรือนหรือตัวถังคอมเพรสเซอร์ จำนวน 3 หลัก แบ่งเป็น ขั้ว R – ขั้ว S – ขั้ว C
ขั้ว R (Run) เป็นขั้วที่ต่อมาจากปลายสายด้านหนึ่งของขดรัน
ขั้ว S (Start) เป็นขั้วที่ต่อมาจากปลายสายด้านหนึ่งของสตาร์ท
ขั้ว C (Common) เป็นขั้วที่เป็นจุดรวมของปลายสายอีกด้านหนึ่งที่มาจากขดรันและขดสตาร์ท


การต่อวงจรไฟฟ้า เพื่อให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ เริ่มเดินและเดินต่อไปจนกว่าจะหยุดจ่ายไฟ มีการต่อวงจรใช้งานหลายหลายรูปแบบ ทั้งนี้ การต่อวงจรแต่ละแบบ จำเป็นต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับการใช้งานและขนาดกำลังของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์

รูปแบบการต่อวงจรไฟฟ้าของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ แบบต่างๆ

1.วงจรไฟฟ้าของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบ RSIR (resistance start –induction run)
วงจรมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบ RSIR ทำงานโดยอาศัยรีเลย์ช่วยสตาร์ตชนิดทำงานด้วยกระแส (Current relay) ขณะเริ่มทำงานรีเลย์จะต่อวงจรให้ทั้งขดลวดรันและขดลวดสตาร์ตครบวงจร สร้างแรงบิดมากพอให้คอมเพรสเซอร์เริ่มทำงานได้ หลังจากนั้นรีเลย์จะตัดวงจรเหลือขดลวดรันทำงานเพียงขดเดียว ใช้ได้เฉพาะคอมเพรสเซอร์ขนาดเล็ก เช่น ที่ใช้ในตู้น้ำเย็น ตู้เย็น ขนาดไม่เกิน 1/3 แรงม้า ซึ่งต้องการกำลังทั้งช่วงสตาร์ตและช่วงทำงานปกติไม่มากนัก



2.วงจรไฟฟ้าของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบ CSIR(capacitor start-induction run)
CSIR เป็นการต่อวงจรมอเตอร์คล้ายกับแบบ RSIR ต่างกันเพียงการเพิ่มคาปาซิเตอร์แบบสตาร์ตต่ออนุกรมระหว่างหน้าสัมผัสของรีเลย์และขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ จึงให้แรงบิดในช่วงเริ่มต้นดีกว่าแบบ RSIR ส่วนช่วงทำงานปกติจะทำงานเหมือนกับแบบ RSIR ใช้งานในเครื่องทำความเย็นขนาดเล็กจนถึงขนาด 3/4 แรงม้า



3.วงจรไฟฟ้าของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบ PSC (permanent split capacitor)
การต่อวงจรมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ แบบ PSC ใช้คาปาซิเตอร์แบบรันต่ออนุกรมโดยถาวรกับขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ คาปาซิเตอร์และขดลวดสตาร์ตจะต้องทำงานตลอดทั้งช่วงสตาร์ตและช่วงทำงานปกติโดยไมมีรีเลย์มาตัดวงจร ขณะทำงานจึงมีกระแสผ่านทั้งขดลวดรันและขดลวดสตาร์ต ทำให้มีกำลังขับดีกว่าแบบ RSIR และ CSIR ใช้ในเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึง 5 แรงม้า โดยเฉพาะต้องเป็นระบบที่สามารถถ่ายเทความดันระหว่างด้านความดันสูงและความดันต่ำ (balance pressure) ได้ขณะคอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน เช่น ระบบที่ใช้ capillary tube



4.วงจรไฟฟ้าของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบ CSR (capacitor start and run)
CSR เป็นการต่อวงจรมอเตอร์คล้ายกับแบบ PSC ต่างกันเพียงการเพิ่มคาปาซิเตอร์แบบสตาร์ตต่ออนุกรมกับขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ โดยมีรีเลย์ช่วยสตาร์ตชนิดทำงานด้วยค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า(Potential relay) เป็นตัวตัดคาปาซิเตอร์สตาร์ทไม่ให้ทำงานหลังจากมอเตอร์เริ่มต้นทำงานและหมุนได้ความเร็วประมาณ 75 % ของความเร็วรอบปกติ เป็นมอเตอร์ที่ใช้กำลังช่วงเริ่มต้นดีกว่าแต่ช่วงปกติจะทำงานเหมือนกับแบบ PSC จึงถูกนำไปใช้กับระบบที่ไม่สามารถ balance pressure ขณะคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานได้ เช่น ระบบที่ใช้ลิ้นลดความดันชนิดthermostatic expansion valve และยังเหมาะสมกับการใช้งาน กับเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ เพราะช่วยให้การสตาร์ทออกตัวของมอเตอร์ทำได้ง่ายในเวลาที่สั้นกว่า ซึ่งวงจรชนิดนี้ นำมาใช้กับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ ที่มีกำลังแรงม้าตั้งแต่ 1 HP ขึ้นไป หรือในเครื่องปรับอากาศขนาด 20,000 BTU ขึ้นไป 
 






































                                                     ที่มาhttp://aannop.blogspot.com/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หน่วยแรงดัน

ปอนด์ต่อตารางนิ้ว  ( อังกฤษ :  pound per square inch ) หรือชื่อที่ถูกต้องกว่าคือ  แรงปอนด์ต่อตารางนิ้ว  ( อังกฤษ :  pound-force per square inch ) สัญลักษณ์  psi  (พีเอสไอ) หรือ  lbf/sq in  เป็น หน่วยวัด ความดัน ซึ่งมีพื้นฐานจาก ระบบอังกฤษ แบบ อาวัวร์ดูปัว  นิยมใช้ใน สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา  หนึ่งปอนด์ต่อตารางนิ้วคือความดันซึ่งเป็นผลจากแรงหนึ่ง แรงปอนด์ กระทำต่อพื้นที่หนึ่ง ตารางนิ้ว ความสัมพันธ์กับหน่วยวัดรูปแบบอื่น ๆ [ แก้ ] ในการใช้งานตัวย่อ มักมีการเติมตัวอักษรลงไปหลังสัญลักษณ์ "psi" เพื่อแสดงปริมาณที่ถูกวัด อย่างไรก็ตาม  สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีสหรัฐอเมริกา  (เอ็นไอเอสที) แนะนำว่า เพื่อเพื่อป้องกันความสับสน การเติมตัวอักษรให้เติมที่ปริมาณที่ถูกวัดแทนที่จะเป็นตัวหน่วยวัดเอง ตัวอย่างเช่น ให้ใช้ " P g  = 100 psi" แทน " P  = 100 psig" psia (pounds-force per square inch absolute) - ความดันสัมบูรณ์ คือความดันเกจรวมกับความดันบรรยากาศรอบบริเวณนั้น ให้ใช้ " P a  =  x  psi" แทน " x  psia" psid (psi different) - ผลต่างความดัน ให

Psychometric Chart

แผนภูมิไซโครเมตริก () เป็นแผนภูมิที่บอกถึงรายละเอียดของอากาศที่สภาวะต่าง ๆ เชื่อว่าหลายท่านที่ทำงานในสายงานเครื่องกล ทำความเข้าใจแผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart) อาจหาญ  ณ นรงค์ แผนกวิศวกรรมและซ่อมบำรุง บริษัท โยโกฮาม่า ไทร์  แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด     แผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart) เป็นแผนภูมิที่บอกถึงรายละเอียดของอากาศที่สภาวะต่าง ๆ เชื่อว่าหลายท่านที่ทำงานในสายงานเครื่องกล เช่น งานปรับอากาศและความเย็นคงจะรู้จักแผนภูมินี้ และการที่เราเข้าใจแผนภูมินี้จะทำให้เราเข้าใจถึงธรรมชาติและกระบวนการการเปลี่ยนแปลงของสภาวะของอากาศตลอดจนสามารถนำมาใช้งานและวิเคราะห์แก้ใขปัญหาในงานที่เกี่ยวข้องได้มากยิ่งขึ้น                          รูปที่ 1  แผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart) ความสำคัญของอากาศและการใช้งาน     เชื่อว่าทุกคนคงจะรู้จักอากาศ (Air) กันเป็นอย่างดี อากาศมีอยู่ทุก ๆ ที่เราทุกคนใช้อากาศในการหายใจ อากาศเป็นตัวช่วยในการติดไฟของเชื้อเพลิงในการหุงต้มหรือในเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรต่าง ๆ ในงานด้านวิศวกรรมและการผลิต อากาศถูกนำมาใช้ประโยชน์ในกระบวนก